วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 14

การสอนโดยใช้แผนที่ความคิด ( Mind Map )
แผนที่ความคิดคืออะไร  แผนที่ความคิด ( Mind Map ) เป็นการนำเอาทฤษฎีที่เกี่ยวกับสมองไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด การเขียนแผนที่ความคิดเกิดจากการใช้ทักษะทั้งหมดของสมอง หรือเป็นการทำงานร่วมกันของสมองทั้ง 2 ซีก คือ สมองซีกซ้าย และสมองซีกขวา สมองซีกซ้าย ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์คำภาษา                 สัญลักษณ์ ระบบ                 ลำดับความเป็นเหตุเป็นผล                ตรรกวิทยาฯ
สมองซีกขวา ทำหน้าที่สังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ความงามศิลปะ จังหวะ โดยมีเส้นประสาทส่วนหนึ่งเป็นตัวเชื่อมโยงสมองทั้งซีกซ้ายและขวา ให้ทำงานประสานกัน
  การเรียนรู้วิชาต่าง ๆ ใช้แผนที่ความคิดช่วยในการศึกษาเล่าเรียนทุกวิชาได้เด็กเล็กจะเขียนแผนที่ความคิดได้ตามวัยของตน ส่วนในชั้นที่โตขึ้นความละเอียดซับซ้อนจะมากขึ้นตามเนื้อหา และวัยของตน แต่ไม่ว่าจะเป็นระดับชั้นใด แผนที่ความคิดก็ช่วยให้เกิดความคิดได้กว้างขวาง หลากหลาย ช่วยความจำ ช่วยให้งานต่าง ๆ มีความสมบูรณ์ ความคิดต่าง ๆ ไม่ขาดหายไป
  วิธีการเขียนแผนที่ความคิดแผนที่ความคิด ( Mind Map ) พัฒนาจากการจดบันทึกแบบเดิม ๆ ที่บันทึกเป็นตัวอักษร เป็นบรรทัด เป็นแถว โดยดินสอหรือปากกา มาเป็นการบันทึกเป็นคำ ภาพ สัญลักษณ์ แบบแผ่เป็นรัศมีออกรอบ ๆ ศูนย์กลางเหมือนการแตกแขนงของกิ่งไม้ โดยใช้สีสันให้น่าสนใจ

  แผนที่ความคิด(Mind       Map)ใช้ได้กับอะไรบ้าง
แผนที่ความคิด ( Mind Map ) นำไปใช้กับกิจกรรในชีวิตส่วนตัว และกิจกรรม ในการปฏิบัติงานทุกแขนงวิชา และอาชีพ เช่น ใช้ในการวางแผน การช่วยจำ การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การนำเสนอ ฯลฯ
           
  การเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิด(Mind        Map)
การเรียนรู้วิชาต่าง ๆ ใช้แผนที่ความคิดช่วยในการศึกษาเล่าเรียนทุกวิชาได้เด็กเล็กจะเขียนแผนที่ความคิดได้ตามวัยของตน ส่วนในชั้นที่โตขึ้นความละเอียดซับซ้อนจะมากขึ้นตามเนื้อหา และวัยของตน แต่ไม่ว่าจะเป็นระดับชั้นใด แผนที่ความคิดก็ช่วยให้เกิดความคิดได้กว้างขวาง หลากหลาย ช่วยความจำ ช่วยให้งานต่าง ๆ มีความสมบูรณ์ ความคิดต่าง ๆ ไม่ขาดหายไป
  วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร    เทคนิคการคิดแบบ six thinking hats จะเป็นการรวมความคิดด้านต่างๆ ไว้ครบถ้วนทุกด้าน ระบบให้คนคิดทีละด้าน มองทีละด้าน จากด้านหนึ่งไปมองอีกด้านหนึ่ง จะได้เห็นภาพจริงที่ชัดเจน  ทำให้พิจารณาความคิดใหม่ ๆ ได้รอบคอบ เป็นผลให้เกิดความคิดที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น การคิดเป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนาได้ การใช้วิธีคิดแบบสวมหมวกคิด six thinking hats จะช่วยให้ผู้คิดสามารถคิดอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนในการคิดอย่าง สร้างสรรค์และสามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น
 
              องค์ประกอบของ Six Thinking   Hats
            Six Thinking Hats จะประกอบด้วยหมวก 6 ใบ 6 สี คือ
1.     White Hat หรือ หมวกสีขาว หมายถึง  ข้อมูลเบื้องต้นของสิ่งนั้น เป็นความคิดแบบไม่ใช้อารมณ์ และมีเป้าประสงค์ที่ชัดเจน แน่นอน ตรงไปตรงมา ไม่ต้องการความคิดเห็น สีขาวเป็นสีที่ชี้ให้เห็นถึงความเป็นกลาง จึงเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง จำนวนตัวเลข เมื่อสวมหมวกสีนี้ หมายความว่าที่ประชุมต้องการข้อเท็จจริงเท่านั้น 
2.      Red Hat  หรือ หมวกสีแดง หมายถึง ความรู้สึก สัญชาตญาณ และลางสังหรณ์ เมื่อสวมหมวกสีนี้ เราสามารถบอกความรู้สึกของตนเองว่าชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี มีการใช้อารมณ์ ความคิดเชิงอารมณ์ซึ่งส่วนใหญ่การแสดงอารมณ์จะไม่มีเหตุผลประกอบทันที
 3.     Black Hat หรือ หมวกสีดำ หมายถึง ข้อควรคำนึงถึง สิ่งที่ทำให้เราเห็นว่า เราไม่ควรทำ  เป็นการคิดในเชิงระมัดระวัง หมวกสีดำ เป็นหมวกคิดที่เป็นธรรมชาติและสอดคล้องกับวิธีการคิดของตะวันตกมาก หมวกสีดำช่วยชี้ให้เราเห็นว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดไม่สอดคล้องและสิ่งใดใช้ไม่ได้
4.      Yellow Hat หรือ หมวกสีเหลือง หมายถึง การคาดการณ์ในทางบวก ความคิดเชิงบวก เป็นการมองโลกในแง่ดี การมองที่เป็นประโยชน์  
5.      Green Hat หรือ หมวกสีเขียว หมายถึง ความคิดนอกกรอบที่มีความสัมพันธ์กับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงแนวคิดและมุมมองซึ่งปกติมักถูกกำหนดจากระบบความคิดของประสบการณ์ดั้งเดิม และความคิดนอกกรอบนั้นจะอาศัยข้อมูลจากระบบของตัวเราเอง โดยเมื่อสวมหมวกสีนี้ จะแสดงความคิดใหม่ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น การคิดอย่างสร้างสรรค์
6.      Blue Hat หรือ หมวกสีน้ำเงิน หมายถึง การควบคุม และการบริหารกระบวน การคิด เพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องของความคิดรวบยอด ข้อสรุป การยุติข้อขัดแย้ง การมองเห็นภาพและการดำเนินการที่มีขั้นตอนเป็นระบบ เมื่อมีการใช้หมวกน้ำเงิน
ตัวอย่างเช่น  วิธีการสอนแบบโครงการ
                  เป็นการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง  จากการลงมือปฏิบัติจริงในลักษณะของการศึกษา  สำรวจ  ค้นคว้า  ทดลอง  ประดิษฐ์คิดค้น  
       จนได้ชิ้นงานที่สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ได้ในชีวิตจริง ส่วนวิธีการสอนแบบหมวก  6 ใบ จะใช้คำถามนักเรียนจะใช้ความคิดนี้ไปใช้ทำอะไร นักเรียนก็จะคิดมองทีละด้าน หลายๆแบบแล้วสรุปเป็นความคิดใหม่ ที่จะสามารถให้นักเรียนมีความรอบคอบและรอบด้านในเรื่องที่ศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น